(15) Qutub Minar Complex / (16) Red Fort / (17) Humayun's Tomb / (18) Capitol Complex


 

(15) Qutub Minar Complex/Delhi

ถ้าถามว่า “ไปเดลี ไปเที่ยวไหนดี?” คุตุ๊ปมีนาร์ จะเป็นคำตอบแรกที่เข้ามาในหัว!
ถ้ามีเวลาที่เดลีสักหน่อย เราก็จะพาไป ไปกี่ครั้งก็ยังชอบ! 

คูตุ๊ปมีนาร์ คอมเพล็ก(Qutub Minar Complex ... "Qutub" คือ ชื่อกษัตรย์ผู้เริ่มสร้าง และ "Minar" แปลว่าหอคอย) เป็นโบราณสถานที่ประกอบด้วยซากปรักหักพังของเสาอาคาร เสาเหล็ก ซากวัดฮินดู ซากวัดเชน ที่สร้างทับด้วยสุเหร่า หลุมฝังศพ (ซึ่งตอนนี้ก็เหลือแต่ซากเช่นกัน) โดยมี หอคอยคูตุ๊ป สูง 73 เมตรตั้งอยู่ใจกลางโดดเด่นเป็นสง่า ประหนึ่งหอคอยแห่งชัยชนะที่กษัตริย์โมกุลสามารถเข้ายึดครองเดลีได้ สภาพอาคารสมบูรณ์ รอบๆ แกะสลักด้วยอักษรสันสกฤต หอคอยคูตุ๊ปเริ่มสร้างครั้งแรกในสมัยกษัตริย์โมกุลนามว่า คูตุ๊ปบุตดิน ไอเบ็ค (Qutubuddin Aibak) ในปีค.ศ. 1192 และสร้างเสร็จในอีกเกือบ 100 ปีต่อมา หอคอยคูตุ๊ปได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในแง่ศิลปะสถาปัตยกรรมรูปแบบอิสลามที่โดดเด่นสวยงาม ปัจจุบันหอคอยคูตุ๊ปเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเดลีด้วยนะ

คูตุ๊ปมีนาร์ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1993

 (17) Humayun Tomb/Delhi

สุสานหุมายูน (Humayun Tomb) เป็นสุสานสร้างด้วยหินทรายแดง เป็นที่ฝังศพของพระเจ้าหุมายูน กษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์โมกุล สร้างขึ้นปี ค.ศ. 1565 โดยสถาปนิกชาวเปอร์เชียชื่อ มิรัค มีร์ซา กิยาส อำนวยการสร้างโดยพระนางหะมิดะ ภาณุ เบกุม มเหสีองค์หนึ่งของพระองค์ (ซึ่งพระองค์ทรงมีหลายคน) ใช้เวลาสร้างรวม 7 ปี

ความโดดเด่นของสุสานหุมายูนอยู่ที่ สวนที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหลายอันมาต่อกันเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่ นับเป็นสุสานที่มีสวนแห่งแรกในอนุทวีป เป็นศิลปะผสมโมกุลกับอิสลาม ด้วยความยิ่งใหญ่และสวยงาม พระเจ้าชาห์ จาฮัน ผู้เป็นเหลม จึงได้แรงบันดาลใจจากสุสานแห่งนี้ไปสร้าง ทัชมาฮาล ที่เมืองอัครา (Agra)

พ่อค้าวาณิชย์ชาวอังกฤษคนหนึ่ง ได้สาธยายความงดงามการตกแต่งภายในของท้องพระโรงกลางไว้ว่า มีพรมประดับมากมาย มีกระโจมเล็กและผ้าขาวสะอาดคลุมจุดที่ฝังพระศพ มีคัมภีร์กุรอาน ดาบ ผ้าโพกพระเศียร และรองพระบาท ตั้งอยู่ด้วย ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้ไม่อยู่แล้ว

หลังพระเจ้าหุมายูนสวรรคต พระเจ้าอัคบาร์ พระโอรสได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองอัครา (Agra) ส่งผลให้สุสานหุมายูนขาดการดูแล ชาวบ้านเข้ามาทำไร่ยาสูบ เป็นที่ลี้ภัยของชาวมุสลิมยามสงคราม สุสานอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม สวนก็เสียหายมากมาย จนกระทั่งสุสานหุมายูนได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก จึงได้มีการบูรณะฟื้นฟูอย่างจริงจัง และใช้เวลาถึง 10 ปี จึงได้เป็นสภาพที่เราได้เห็นอยู่ในปัจจุบั

สุสานหุมายูน ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1993

ดัดแปลงข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

(18) Capitol Complex / Chandigarh

xxx

Visitors: 105,390